ย่อ / ขยาย

ข้อดีของอนุญาโตตุลาการ
 

  1. ประการที่สำคัญที่สุด คือสามารถนำคำชี้ขาด (เทียบเท่าคำพิพากษา) ไปใช้บังคับคดีได้ในต่างประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ต่างจากคำพิพากษาของศาล เช่น ในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ สามารถดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการในประเทศใดก็ได้เมื่อมีคำชี้ขาด ออกมาแล้ว สามารถนำไปใช้บังคับกับทรัพย์สินของฝ่ายที่แพ้คดีได้ ตามอนุสัญญากรุงนิวยอร์ค ค.ศ. 1958 (อนุสัญญาว่า ด้วยการยอมรับนับถือคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ปัจจุบันใช้บังคับได้ 156 ประเทศทั่วโลก) ประการที่สำคัญที่สุด คือสามารถนำคำชี้ขาด (เทียบเท่าคำพิพากษา) ไปใช้บังคับคดีได้ในต่างประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ต่างจากคำพิพากษาของศาล เช่น ในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ สามารถดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการในประเทศใดก็ได้เมื่อมีคำชี้ขาด ออกมาแล้ว สามารถนำไปใช้บังคับกับทรัพย์สินของฝ่ายที่แพ้คดีได้ ตามอนุสัญญากรุงนิวยอร์ค ค.ศ. 1958 (อนุสัญญาว่า ด้วยการยอมรับนับถือคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ปัจจุบันใช้บังคับได้ 156 ประเทศทั่วโลก)
  2. มีความรวดเร็ว สะดวกสบาย สามารถกำหนดเลือกสถานที่ ภาษา วิธีการต่างๆ รวมไปถึงกฎหมายที่จะนำมาปรับใช้กับสัญญา ได้ยืดหยุ่นกว่าการดำเนินคดีในศาล
  3. การดำเนินกระบวนการพิจารณา เป็นไปในทางลับทำให้ข้อมูลของธุรกิจ หรือประเด็นที่คู่สัญญาพิพาทกันอยู่ในวงจำกัด
  4. สามารถตั้งอนุญาโตตุลาการ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกับปัญหา เช่น สัญญาก่อสร้างสามารถแต่งตั้งวิศวกรเข้ามาชี้ขาด ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ เป็นต้น


การยื่นคำเสนอข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ

ให้ดำเนินการตามรายการ ดังต่อไปนี้

  • ชื่อ - นามสกุลของคู่พิพาทพร้อมด้วยที่อยู่
  • รายละเอียดเกี่ยวกับข้อพิพาท
  • ต้นฉบับหรือสำเนาสัญญาหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพยานเอกสารเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งคู่พิพาทประสงค์จะอ้างถึง 
  • ข้อกำหนดอนุญาโตตุลาการหรือข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการที่ใช้บังคับแก่คู่พิพาท
  • ข้อเท็จจริงอันเป็นมูลหนี้แห่งข้อเรียกร้องและจำนวนเงินที่เรียกร้อง
  • คำขอเพื่อบรรเทาหรือชดใช้ความเสียหาย
  • จำนวนอนุญาโตตุลาการในกรณีที่ไม่ได้ตกลงกำหนดจำนวนอนุญาโตตุลาการกันไว้ก่อน