main00
main01
main02

แนวทางของหอการค้าไทยเพื่อขับเคลื่อนการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

จากการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 40 หอการค้าไทย จึงได้ตกลงร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

1) ต่อยอดความเชื่อมั่นจากการเป็นเจ้าภาพ APEC 2022 พร้อมผลักดัน FTAAP และเร่งขยาย FTA กับนานาชาติให้มากขึ้น เพื่อสร้างความน่าสนใจและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

2) แสวงหาโอกาสและขยายตลาดใหม่ๆ ในประเทศที่มีศักยภาพ ได้แก่
ㆍ การขยายผลการศึกษาวิจัยโอกาสการลงทุนระหว่างไทยและจีนที่หอการค้าไทยร่วมกับสถานทูตจีน ดำเนินการเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ㆍ การขยายความสำเร็จ จากการเปิดความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบีย โดยหอการค้าไทยพร้อมเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างกัน เช่น เมกะโปรเจคระดับโลก เช่น เดอะไลน์ ซึ่ง "กลุ่มสยามพิวรรธณ์" สนใจร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว
ㆍ รวมถึง ความสำเร็จของ PTT OR ที่สามารถเปีด Cafe Amazon สาขาแรก ในเมืองริยาด และมีแผนขยายสาขาเพิ่ม อันเป็นผลมาจากการเดินทางร่วมคณะกับหอการค้าไทยในการเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ㆍ ทั้งนี้ หอการค้าฯยังมีแผนที่จะนำคณะนักธุรกิจไทย เยือนซาอุดิอาระเบียอีกครั้งเพื่อขยายการค้า การลงทุนร่วมกันให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป
ㆍ เดินหน้าความร่วมมือด้านการลงทุน ภายใต้ MOU ระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับ หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเวียดนาม เพื่อผลักดันมูลค่าการค้าให้ถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025
1) จากข้อมูลและการศึกษาพบว่า SMEs ที่มีการรวมตัวในลักษณะองค์กรหรือทำธุรกิจเชื่อมกับ Value Chain ของบริษัทใหญ่ จะมีความเข้มแข็งและมีความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น ในปี 2566 หอการค้าไทย ตั้งเป้าหมายระดมสมาชิกเพิ่มจาก 1 แสนรายเป็น 2 แสนราย ภายใน 3 ปีข้างหน้า

2) หอการค้าไทย ได้จัดตั้ง สถาบัน Competitiveness ภายใต้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยพร้อมทั้ง ขับเคลื่อนและติดตามการให้คะแนนและการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างใกล้ชิด

3) ผลักดันแนวทาง Trade & Travel โดยหอการค้าไทยจะร่วมกับหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ ต่อยอดการท่องเที่ยวคุณภาพสูง ยกระดับการสร้าง Soft Power ในแต่ละจังหวัดทั้งด้านสมุนไพร อาหาร และวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วย Happy Model

4) หอการค้าไทยจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ BOI ยกระดับ Ease of Investment และจัดกิจกรรมเชิงรุก เพื่อดึงดูดนักนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนตรงในประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่การลงทุนที่สำคัญของไทยอย่าง EEC ที่มีความพร้อมในการรองรับการลงทุนตรงจากทั่วโลกได้อย่างทันที

5) ขับเคลื่อนภาคอสังหริมทรัพย์เพื่อให้เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทุกภาคส่วน

6) สำหรับด้านการปลดล็อค ส่งเสริม พัฒนาของภาครัฐ ที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน
1) หอการค้าไทยและเครือข่ายทั่วประเทศ พร้อมผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ (Bangkok Goals) ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG โดยจะนำเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชนที่จัดทำร่วมกับกระทรวงการอุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นแนวทางขยายผล BCG Model เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ

2) ใช้กลไกสถาบันวิทยาการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่จัดตั้งขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันทางวิชาการ สร้างความรู้ ความเข้าใจ BCG Model และ บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) พร้อมทั้งศึกษา Model ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ (Success Case) เพื่อขยายผลไปภาคธุรกิจทั่วประเทศต่อไป