ย่อ / ขยาย

แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP)


 

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ดำเนินการป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานและการค้ามนุษย์ในกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิต ให้ปราศจากการละเมิดสิทธิแรงงาน เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศคู่ค้าและผู้ซื้อรายใหญ่ในต่างประเทศให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง


จึงได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้าง องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคีเครือข่าย จัดทำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) ภายใต้การสนับสนุนทางวิชาการจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพื่อใช้เป็นคู่มือและแนวทางให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิด้านแรงงาน นำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ (Good Labour Practices : GLP) ไปใช้ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างมีจริยธรรมและสอดคล้องกับกฏหมายแรงงานของประเทศ


แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีสําหรับสถานประกอบกิจการทั่วไปมี วัตถุประสงค์เพื่อให้สถานประกอบกิจการใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการปรับปรุงสภาพการจ้างและสภาพการทํางานด้วยตนเองอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายทําให้สถานประกอบกิจการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมาย ซึ่งเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน ส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง เพิ่มผลิตภาพและความร่วมมือในสถานประกอบกิจการ


วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นแนวทางให้มีการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมประมงทะเล และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง และฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง
  • เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการปรับปรุงสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน ให้สอดคล้องกับกฎหมาย
  • ยกระดับความตระหนักรู้ของผู้เกี่ยวข้อง นายจ้าง และลูกจ้างในเรื่องการจ้างงานที่ดี ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ

 

ประโยชน์ต่อธุรกิจนายจ้าง

  • มีแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้แรงงาน
  • ขจัดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
  • เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้า ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับสากล
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถานประกอบกิจการเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)


ประโยชน์ต่อพนักงาน/ลูกจ้าง

  • พนักงาน/ลูกจ้าง ได้รับการดูแลที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • มีขวัญกำลังใจในการทำงาน และเกิดความภักดีต่อองค์การ
  • เชื่อมั่นว่านายจ้างของตนไม่เอารัดเอาเปรียบ


เป้าหมายแนวทางปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP)

  • สร้างความตระหนัก และขบวนการความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการบวนการปรับปรุง สภาพการทำงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน
  • เพื่อเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานของกฎหมาย
  • เพื่อแนะนำ เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
  • เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน



คู่มือแนวทางปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี
(Good Labour Practiecs : GLP)

 
 


พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ระหว่างหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานประกอบกิจการที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญของความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน และนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ไปปฏิบัติ

 

รายชื่อสถานประกอบการที่นำตราสัญลักษณ์แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี
(Good Labour Practiecs : GLP) ไปใช้ในการบริหารกิจการ/ธุรกิจ

 


สนใจที่จะนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) ไปใช้บริหารจัดการด้านแรงงานในองค์กร
สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
กลุ่มงานพัฒนาระบบมาตรฐานแรงงาน สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน
โทรศ้พท์ 0 2660 2105 หรือสายด่วน 1506 กด 3 และ 1546