SMART to Know: EBITDA สำคัญไฉน

          EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest Taxes Depreciation Amortization หมายถึง กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นกำไรที่บริษัทสร้างได้จากการดำเนินธุรกิจหลัก โดยยังไม่หักค่าใช้จ่ายบางประเภทที่อาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงาน เช่น ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวร และค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ทั้งนี้ EBITDA จะเป็นตัววัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดย

          •    Interest และ Taxes บอกถึงว่าธุรกิจเป็นหนี้เท่าไหร่ หรือต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่
          •    Depreciation และ Amortization บอกถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

          เมื่อเราพิจารณาผลประกอบการของบริษัท กำไรสุทธิ (Net Profit) อาจเป็นตัวเลขแรกที่เราให้ความสนใจ แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดของธุรกิจเสมอไป ดังนั้น เราจึงควรดู EBITDA เพราะจะเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพความสามารถในการทำกำไรอย่างแท้จริง 


วิธีคำนวณ EBITDA จากงบกำไรขาดทุน

สูตรการคำนวณ
(1) รายได้จากการขาย – ต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น
(2) กำไรขั้นต้น – ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร = กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)
(3) กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) + ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA

          กำไรขั้นต้น (Gross Profit) เปรียบเสมือนการตรวจสอบว่าธุรกิจสามารถขายสินค้าได้กำไรมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของธุรกิจ ยังมีส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพื่อแสดงกำไรที่แท้จริง จึงต้องมีการคำนวณกำไร โดยหักต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารออกแล้ว เรียกว่า “กำไรจากการดำเนินงาน” หรือ EBIT

          EBIT เป็นกำไรที่หักค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ทั้งหมดเสียเงินจริงๆ โดยค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเป็นเพียงภาระทางบัญชี ซึ่งในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายดังกล่าวบริษัทได้จ่ายเงินซื้อไปตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้น EBIT + ค่าเสื่อมราคา (D) +ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA นั่นเอง การบวกกลับ ค่าเสื่อมราคา (D) + ค่าตัดจำหน่าย (A) เข้าไป จะทำให้เห็นกำไรจากการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัท โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดจริง และหากนำกำไรจากการดำเนินงาน หักลบด้วย ค่าเสื่อมราคา (D) และ ค่าตัดจำหน่าย (A) จะได้ กำไรสุทธิ (Net Profit)

          EBITDA เป็นกำไรจากการดำเนินงานจริง ๆ เนื่องจากทั้ง I, T, D และ A นั้น ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปกติ เมื่อตัดทั้ง 4 ตัวดังกล่าวออกไป จะทำให้เห็น “ภาพที่แท้จริง” ของการประกอบธุรกิจของบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม EBIDA เป็นกำไรแบบหนึ่งในงบกำไรขาดทุน ควรดูกำไรระดับอื่น ๆ ประกอบด้วย


EBITDA เครื่องมือสำหรับนักลงทุน

1.    แสดงความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง

  • สะท้อนผลการดำเนินงานหลักของธุรกิจ
  • ไม่รวมผลกระทบจากโครงสร้างทางการเงินและนโยบายบัญชี
  • ช่วยให้เห็นประสิทธิภาพการบริหารงาน

2.    ใช้ในการประเมินมูลค่ากิจการ

  • ช่วยในการตัดสินใจซื้อขายกิจการ
  • เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้

จะขอกู้เงิน...EBITDA ก็สำคัญ

          1.    แสดงความสามารถในการสร้างกำไรจากการดำเนินงานหลัก EBITDA ช่วยให้เห็นว่าธุรกิจสามารถสร้างกำไรจากการดำเนินงานหลักได้มากน้อยเพียงใด โดยไม่รวมปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น ดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา ซึ่งช่วยให้ผู้ให้กู้ประเมินได้ว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้หรือไม่

          2.    ใช้ในการประเมินความสามารถในการชำระดอกเบี้ย โดยผู้ให้กู้อาจใช้สัดส่วน เช่น EBITDA-to-Interest Coverage Ratio เพื่อประเมินว่าธุรกิจมีรายได้เพียงพอที่จะครอบคลุมดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายหรือไม่ โดยสัดส่วนที่สูงบ่งชี้ว่าธุรกิจมีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยได้ดี

          3.    ช่วยในการเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น เนื่องจาก EBITDA ไม่รวมปัจจัยที่อาจแตกต่างกันระหว่างธุรกิจ เช่น โครงสร้างเงินทุนและนโยบายภาษี ทำให้สามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันได้อย่างยุติธรรม

          4.    ใช้ในการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ทั้งหมด สัดส่วนเช่น Net Debt-to-EBITDA Ratio ช่วยให้ผู้ให้กู้ประเมินว่า ธุรกิจมีความสามารถในการชำระหนี้ทั้งหมดได้มากน้อยเพียงใด โดยสัดส่วนที่ต่ำบ่งชี้ว่าธุรกิจมีความเสี่ยงทางการเงินต่ำ


ข้อควรระวังในการใช้ EBITDA

  1. ไม่ใช่กระแสเงินสดจริง เนื่องจาก EBITDA ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียนและรายจ่ายลงทุน (CAPEX) ซึ่งมีผลต่อกระแสเงินสดที่แท้จริงของบริษัท
  2. อาจซ่อนปัญหาทางการเงิน บริษัทที่มี EBITDA สูง อาจยังประสบปัญหาทางการเงิน หากมีภาระหนี้สินสูงหรือมีการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
  3. ไม่เหมาะสำหรับทุกอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมที่ต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์จำนวนมาก และมีค่าเสื่อมราคาสูง เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การใช้ EBITDA อาจไม่สะท้อนภาพรวมที่แท้จริงของธุรกิจ

 

          EBITDA เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ โดยไม่รวมผลกระทบจากโครงสร้างเงินทุน ภาษี และค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนและเจ้าของกิจการเห็นภาพรวมการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น แต่ธุรกิจควรใช้ EBITDA ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ เพื่อจะได้เห็นภาพรวมที่ครบถ้วนและแม่นยำของสถานะทางการเงิน และนำไปสู่การตัดสินใจที่รอบคอบ การเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ การนำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณได้อย่างถูกต้อง ธุรกิจควรมีระบบจัดการบัญชีที่ดีด้วย


อ้างอิงจาก https://www.peakaccount.com/blog/business/smes/what-is-ebitda